Notice: Undefined index: componentType in /volume1/web/enet/templates/dd_university_104/component.php on line 12 โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา 2564

เนื้อหาตามหมวดหมู่

เขียนโดย Super User
ฮิต: 4913

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

1. หลักการและเหตุผล

           


นายทรงศักดิ์ พรหมธิดา
ผอ.รร.บ้านคอแลน 
สพป.อบ.5

         นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖4-2565 ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษากำหนดให้มีการพัฒนาเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย ให้มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่ดี สมวัยทุกด้าน โดยกรปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย มีเป้าหมายให้ให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ

         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ดังนี้

 

              1. ด้านความปลอดภัย
                 พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ
              2. ด้านโอกาส
                  2.1 สนับสนุนให้เด็กปฐมวัยได้เข้าเรียนทุกคน มีพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้สมกับวัย
                  2.2 ดำเนินการ ให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ สามารถวิเคราะห์ตนเองเพื่อการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพตรงตามศักยภาพและความถนัดของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                  2.3 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันไม่ให้ออกจากระบบการศึกษา รวมทั้งช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน
                  2.4 ส่งเสริมให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีทักษะในการดำเนินชีวิต มีพื้นฐานในการประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้อย่างมีศักศรีความเป็นมนุษย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
              3. ด้านคุณภาพ
                  3.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นของโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นคนดี มีวินัย มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
                  3.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดขั้นสูง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเลือกศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำ
                  3.3 ปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นในแต่ละระดับ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สร้างสมดุลทุกด้าน ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพหุปัญญา พัฒนากระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียนทุกระดับ
                  3.4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดี มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครู
              4. ด้านประสิทธิภาพ
                  4.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน มีนวัตกรรมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนบนฐานข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันสมัย และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
                  4.2 พัฒนาโรงเรียนมัธยมสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
                  4.3 บริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 น้อยกว่า 20 คน ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายโรงเรียนคุณภาพของชุมชน
                  4.4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ และสถานศึกษาที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ
                  4.5 สนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เป็นต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                  4.6 เพิ่มประสิทธิภาพการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                  เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและสถานศึกษาให้มีสมรรถนะ ตามเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนความยั่งยืนของความรู้ของผู้เรียน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ นี้ขึ้น

2. วัตถุประสงค์
    2.1 เพื่อปรับปรุงระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาให้ทันสมัย
    2.2 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการเรียนการสอน

 3. เป้าหมาย
     3.1 ด้านปริมาณ        
           3.1.1 มีระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ 1 ระบบ
           3.1.2 มีเว็บไซต์ที่มีสามารถตอบสนองภารกิจของระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 1 เว็บไซต์
     3.2 ด้านคุณภาพ
           3.2.1 สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีความสะดวก รวดเร็ว
           3.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทุกระดับสูงขึ้น

4. การดำเนินงาน

ที่

กิจกรรม/ขั้นตอน

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1
2

3
4
5
6

สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น ของสถานศึกษา
สถานศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ ประเมินทางเลือก ในการแก้ไข ปัญหา ตามสภาพจริงของโรงเรียน
ดำเนินการดูแลปรับปรุงระบบ และเว็บไซต์โรงเรียน
ทำ MOU กับเครือข่ายระบบ Ednet-OMS/OMO
การอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประเมินผล กำกับ ติดตาม

พฤษภาคม  64
พฤษภาคม 64

กรกฎาคม 64
สิงหาคม 64
ก.ค. - ส.ค. 64
ต.ค.64, มี.ค.65

ครูทุกคน
ครูทุกคน

ผู้ดูแลระบบ
ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยากรต้นทาง
ผู้รับผิดชอบโครงการ

5. งบประมาณ

          ใช้งบประมาณจากเงินอุดหนุนของสถานศึกษา จำนวน  5,000  บาท

 กิจกรรม/รายละเอียดค่าใช้จ่าย

งบประมาณ

ประเภทค่าใช้จ่าย

ค่าตอบแทน

ค่าใช้สอย

ค่าวัสดุ

รวม

กิจกรรมที่ 1 สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา

-

-

-

-

-

กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์ ประเมินทางเลือก ในการแก้ไข ปัญหา ตามสภาพจริงของโรงเรียน

-

-

-

-

-

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการดูแลปรับปรุงระบบ และเว็บไซต์โรงเรียน

-

-

-

-

-

กิจกรรมที่ 4 ทำ MOU กับเครือข่ายระบบ Ednet-OMS/OMO

-

-

-

3,000

-

กิจกรรมที่ 5 การอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา

-

-

2,000

-

-

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผล กำกับ ติดตาม

-

-

-

-

-

รวมทั้งสิ้น

-

-

2,000

3,000

-

6. การวัดและประเมินผล

ที่

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

วิธีการวัด

เครื่องมือ

1.

ร้อยละของคะแนนค่าพัฒนาการผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

ตรวจนับ

แบบประเมินพัฒนาการ

ข้อสอบ

2

ร้อยละของนักเรียนที่มีความพึงพอใจการใช้งานห้องคอมพิวเตอร์

สอบถาม

แบบสอบถาม

3

ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

สังเกต
สอบถาม

แบบบันทึกการนิเทศ
แบบสอบถาม

4

ร้อยละของบุคลากรที่มีความพึงพอใจการใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา

สอบถาม

แบบสอบถาม

5

ประสิทธิภาพของระบบ Ednet-OMS/OMO และเว็บไซต์ของโรงเรียน

สอบถาม

แบบบันทึกการนิเทศ
แบบสอบถาม

 7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
     7.1 สถานศึกษามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
     7.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

0
0
0
s2sdefault